ประเภทของแผล
ว่าด้วยเรื่อง “ประเภทของแผล”
เนื่องจากแผลเกิดได้หลายสาเหตุ และมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เข้าใจในเรื่องของแผลมากขึ้น วันนี้ APCare Home Service จะมาแชร์เรื่อง ประเภทของแผล มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ!
ประเภทของแผลมีดังนี้
- แบ่งตามความสะอาดของแผล
- แผลสะอาด
- ไม่มีการติดเชื้อ
- เคยปนเปื้อนเชื้อแล้วได้รับการดูแลจนเป็นแผลสะอาด
- เนื้อเยื่อแผลเป็นสีชมพูอมแดง ไม่มีลักษณะของการอักเสบบวมแดง
- เช่น แผลผ่าตัด แผลเจาะหลัง แผลให้น้ำเกลือ
- แผลปนเปื้อน
- แผลเปิดที่เริ่มมีการอักเสบปวด บวม แดง ร้อน
- อาจมีสารคัดหลั่งน้ำเลือดหรือน้ำเหลือง
มีโอกาสติดเชื้อสูง
- เช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรด-ด่าง ไฟฟ้าช็อต แผลผ่าตัดที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
- แผลติดเชื้อ
- มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้าง
- มีการติดเชื้อ มีสิ่งแปลกปลอมหรือปนเปื้อนมาก
- อาจมีสารคัดหลั่งเป็นหนอง ช้ำเลือดช้ำหนอง
- เช่น แผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ
- แผลสะอาด
- ไม่มีการติดเชื้อ
- เคยปนเปื้อนเชื้อแล้วได้รับการดูแลจนเป็นแผลสะอาด
- เนื้อเยื่อแผลเป็นสีชมพูอมแดง ไม่มีลักษณะของการอักเสบบวมแดง
- เช่น แผลผ่าตัด แผลเจาะหลัง แผลให้น้ำเกลือ
- แผลปนเปื้อน
- แผลเปิดที่เริ่มมีการอักเสบปวด บวม แดง ร้อน
- อาจมีสารคัดหลั่งน้ำเลือดหรือน้ำเหลือง มีโอกาสติดเชื้อสูง
- เช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรด-ด่าง ไฟฟ้าช็อต แผลผ่าตัดที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
- แผลติดเชื้อ
- มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้าง
- มีการติดเชื้อ มีสิ่งแปลกปลอมหรือปนเปื้อนมาก
- อาจมีสารคัดหลั่งเป็นหนอง ช้ำเลือดช้ำหนอง
- เช่น แผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ
- แบ่งตามลักษณะการฉีกขาดของผิวหนัง
- แผลปิด
- แผลที่เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ แต่ผิวหนังหรือเยื่อบุไม่ฉีกขาดออกจากกัน
- เนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยบริเวณนั้นเกิดการฉีกขาด ทำให้เลือดออกมาคั่งรวมกันเป็นก้อน อาจรู้สึกเจ็บปวดเมื่อการเกิดการกระแทก
- เช่น แผลฟกช้ำ กระดูกหักโดยไม่มีแผลภายนอก แผลไหม้พอง สมองได้รับความกระทบกระเทือน
- แผลเปิด
- แผลที่ผิวหนังบางส่วนฉีกขาดออกจากกัน
- เช่น แผลถลอก แผลถูกขีดข่วน แผลฉีกขาด แผลถูกตัด แผลทะลุทะลวง
- แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดแผล
- แผลสด
- แผลที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม
- แผลเก่า
- แผลที่อยู่ในระยะการหายของแผล
- แผลเรื้อรัง
- แผลที่มีการติดเชื้อ มีการทำลายเนื้อเยื่อ และมีการตายของเนื้อเยื่อ
- มีสารคัดหลั่งเป็นหนอง
- แผลจะหายช้าและการดูแลรักษายาก
- เช่น แผลกดทับ แผลที่เกิดจากการฉายรังสี แผลเนื้อเน่า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น